ทำความรู้จัก “ จิตวิทยาฟอนต์ ”
จิตวิทยาในการเลือกใช้ฟอนต์ในงานออกแบบ
เพื่อนๆอาจจะพบว่ามีหลายปัจจัยมากมายที่จะช่วยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกในงานดีไซน์ ทั้งการเล่นสีสัน รูปร่าง และเค้าโครงต่างๆ เพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้กับผู้ชม ทั้งให้ความรู้สึกมีความสุข หรือเศร้าไปจนถึงความตื่นเต้น แต่เรามักจะหลงลืมองค์ประกอบการออกแบบอยู่อย่างหนึ่งที่จะสามารถส่งผลกระทบต่ออามรณ์ความรู้สึกได้เช่นกันนั่นคือ ฟอนต์ หรือแบบอักษรนั่นเอง (Font)
กล่าวได้ว่าฟอนต์ที่เลือกใช้ในงานดีไซน์นั้นสามารถสร้างอารมณ์หรือเปลี่ยนมุมมองของผู้ชมที่มีต่อผลงานได้อย่างมากฉะนั้นคำกล่าวที่ว่าจิตวิทยาของฟอนต์นั้นทรงพลังจึงไม่ใชคำกล่าวที่เกินจริง
มาทำความรู้จักจิตวิทยาฟอนต์กัน
จะเห็นได้ว่ามนุษย์เรามีความรู้สึกต่อฟอนต์แต่ละแบบแตกต่างกันการทำความเข้าใจในความแตกต่างความเชื่อมโยงของอารมณ์ที่ตอบสนองต่อฟอนต์ และการเลือกใช้ฟอนต์อย่างไรให้เป็นประโยชน์ นั่นคือเรื่องของจิตวิทยาฟอนต์นั่นเอง
แล้วจิตวิทยาฟอนต์สำคัญอย่างไรล่ะ?
ภาพจาก Type Tasting
หนึ่งในเหตุผลหลักที่คุณควรใช้หลักจิตวิทยาของฟอนต์เป็นเครื่องมือในงานดีไซน์เพราะจิตวิทยาของฟอนต์จะทำให้สามารถเลือกฟอนต์ได้เหมาะกับงานดีไซน์ และยังช่วยให้สามารถควบคุมการรับรู้ของผู้ชมได้อีกด้วยนะ
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณกำลังออกแบบโปสเตอร์เพื่อโปรโมทเสื้อผ้าเด็กที่กำลังจะออกใหม่และคุณต้องการให้ผู้ชมรู้สึกมีความสุขร่าเริงกับโฆษณาตัวนี้ คุณควรเลือกใช้ฟอนต์ที่มีลักษณะค่อยข้างจะเป็น whimsical script หรือ Graphic Font เพื่อช่วยสร้างอารมดังกล่าวให้ผู้ชมได้ ในขณะที่การเลือกใช้ฟอนต์ที่เป็น Serif ดั้งเดิมจะทำให้ไม่สื่อถึงความรู้สึกนั้น
และเมื่อคุณมีความเข้าใจในเรื่องจิตวิทยาของฟอนต์แล้วนั้น คุณจะสามารถเลือกใช้ฟอนต์ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกและการตอบสนองตามที่คุณต้องการในงานดีไซน์ได้นั่นเอง
เลือกฟอนต์ผิดชีวิตเปลี่ยน
ถ้าคุณต้องการให้งานดีไซน์ตอบโจทย์ผู้ชม การเลือกใช้ฟอนต์ให้ถูกประเภทนั้น (โครต) จะสำคัญ แต่การหลีกเลี่ยงการเลือกใช้ฟอนต์ผิดๆก็สำคัญเหมือนกัน เพราะการเลือกใช้ฟอนต์ที่ผิดย่อมสามารถเปลี่ยนรูปลักษณ์และอารมณ์งานดีไซน์คุณได้อย่างสิ้นเชิง และด้วยเหตุนี้จึงสามารถเปลี่ยนวิธีการตอบสนองของผู้ชมด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าคุณต้องการดีไซน์ cover facebook เพื่อโปรโมทบริษัทใหม่ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โดยปกติแล้วธุรกิจประเภทดังกล่าวจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจและความมั่นคงให้กับผู้พบเห็น แต่คุณดันเลือกใช้ฟอนต์ในการออกแบบผิด อย่างเช่นการเลือกใช้ฟอนต์ที่มีลักษณะเป็น graphic หรือ script นั่นจะทำให้งานดีไซน์ของคุณไม่มีความเป็นทางการและดูไม่น่าเชือถือ ในทางกลับกันหากคุณต้องการดีไซน์ cover facebook เพื่อโปรโมทธุรกิจการฝึกอบรมส่วนตัว การเลือกใช้ฟอนต์ที่มีความดั้งเดิมอย่าง Serif นั้นจะไม่สามารถสื่อให้เกิดความรู้สึกน่าตื่นเต้นให้กับผู้ชมที่พบเห็นได้อยางตรงจุดประสงค์
แล้วจิตวิทยาฟอนต์ช่วยเพิ่มผลลัพท์จริงหรือ?
เหตุผลสุดท้ายที่จิตวิทยาฟอนต์นั้นสำคัญก็เพราะมันช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายของการออกแบบงานนั้น ทุกๆการออกแบบนั้นมีเป้าหมายเสมอ และการเลือกฟอนต์ที่นำพาอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกต้องให้ผู้ชมมาได้นั้นเป็นแรงผลักอย่างยิ่งรุนแรงให้คุณไปถึงเป้าหมายนั้นได้
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณกำลังออกแบบบโพสเฟสบุ๊คเพื่อโปรโมทสินค้าถ้าเลือกฟอนต์ได้ถูกต้องฟอนต์นั้นจะทำให้โพสของคุณน่าสนใจและโพสนั้นอาจจะช่วยดึงเงินจากกระเป๋าของผู้ที่มองเห็นมันได้ หรือคุณอาจจะใช้ Instagram เพื่อโปรโมท การใช้ฟอนต์ตัวหนาไม่ได้แค่ช่วยให้โพสคุณโดดเด่นจากโพสอื่นเพียงอย่างเดียว แต่ยังจะช่วยสร้างความรู้สึกสนใจและอยากจะได้สินค้านั้นมาอยู่ในมือ
ไม่ว่าเป้าหมายการออกแบบจะเป็นอะไร การเข้าใจผลกระทบของฟอนต์ต่อผู้ชมผลของคุณจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายในการออกแบบชิ้นงานและนี่ก็คือความทรงพลังของตัวอักษรนั่นเอง
ประเภทของฟอนต์และจิตวิทยาเบื้องหลัง
หลังจากที่ทำความรู้จักกับความหมายและรู้ถึงความสำคัญของจิตวิทยาของฟอนต์กันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับจิตวิทยาของฟอนต์ประเภทหลักที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ละฟอนต์นั้นจะมีผลกระทบต่อการตอบสนองต่อผู้ชมอย่างไรกันบ้าง
Serif (เซอริฟ)
ภาพ Wells Fargo logo จาก Wells Fargo Advisors
ฟอนต์ Serif เป็นฟอนต์ที่มีความ Classic สูงมาก เมื่อเราใช้ในงานออกแบบนั่นแปลว่าเรากำลังบอกผู้ชมว่าที่คุณเห็นคือธุรกิจที่มีความดั้งเดิม เชื่อถือเราได้
ภาพจาก postprepress.com.au
และการใช้ Serif อาจจะนำไปสู่ความรู้สึกอื่นๆในงานดีไซน์ได้อีกเช่น
-
ความเชื่อใจ
-
ความน่านับถือ
-
ความมีอำนาจ
-
ความเป็นทางการ
ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับธุรกิจที่เก่าเป็นแบรนดั้งเดิมอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
-
ธุรกิจด้านการเงิน
-
ธรุกิจด้านกฎหมาย
-
ธุรกิจประกัน
-
ธุรกิจด้านการให้คำปรึกษา
Sans serif (แซนส์เซริฟ)
ภาพ Google logo จาก Google
ถ้านึกไม่ออกว่า Sans serif เป็นอย่างไร ให้นึกถึงฟอนต์ Serif ที่มีความใหม่กว่าและซับซ้อนสูงกว่า ฟอนต์นี้มันจะถูกมองว่ามีความดูดีมีสไตล์และทันสมัย และเพราะด้วยความที่ถูกใช้ในโลกเทคโนโลยีบ่อยๆ ทำให้ฟอนต์ Sans serif มีความหมายไปในทางความล้ำสมัยและก้าวทันโลกเทคโนโลยี
ภาพจาก postprepress.com.au
และการใช้ Sans serif อาจจะนำไปสู่ความรู้สึกอื่นๆในงานดีไซน์ได้อีกเช่น
-
ความตรงไปตรงมา
-
ความทันสมัย
-
ความน่าเชื่อถือ
-
ความซับซ้อน
-
เน้นเทคโนโลยี
-
ความล้ำสมัย
ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการให้งานดีไซน์ดูทันสมัยและโดดเด่นมีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น
-
ธุรกิจด้านเทคโนโลยี
-
ธุรกิจแบรนด์แฟชั่น
-
ธุรกิจสตาร์ทอัพ
ภาพจาก canva.com
Script (สคริปต์)
ภาพ The iconic Coca-Cola logo จาก Coca-Cola
Script เป็นฟอนต์ที่มีความประณีตและมีรายละเอียดมากกว่าฟอนต์ประเภทอื่นๆ ให้ความรู้สึกหรูหรา มีระดับ และซับซ้อน ด้วยความที่ฟอนต์นี้พัฒนามาจากลายมือคน เลยทำให้สามารถเข้าถึงความรู้สึกคนได้มากกว่าประเภทอื่นๆ และสามารถทำให้ความรู้สึกสนุก แปลก หรือดั้งเดิมและเป็นของเก่าได้ สามารถใช้ script ฟอนต์ได้ในหลากหลายประเภทงานออกแบบ
และการใช้ Script อาจจะนำไปสู่ความรู้สึกอื่นๆในงานดีไซน์ได้อีกเช่น
-
ความสง่างาม
-
ความซับซ้อน
-
ความแฟนซี
-
ความสร้างสรรค์
-
ความสนุก
-
ความดั้งเดิม
-
ความเป็นปัจเจก
-
ความแปลกตา
ฟอนต์ประเภทนี้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการทำแบรนด์หรืออุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องการความหรูหรา แปลกตา และ/หรือ ต้องการความเป็นกันเอง ตัวอย่างเช่น
-
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
-
ธุรกิจแบรนด์แฟชั่น
-
ธุรกิจที่เกี่ยวกับเด็ก
ภาพจาก journeywithjess.com
ตัวอย่างของจิตวิทยาฟอนต์ในการใช้งานจริง
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับจิตวิทยาฟอนต์ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นไปแล้วคราวนี้เรามาลองดูตัวอย่างจิตวิทยาฟอนต์ในการใช้งานได้จริงและลักษณะการใช้ฟอนต์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ในงานออกแบบ
-Happy-
ภาพ Branding design of Frosty's Ice Cream จาก 99designs designer green in blue
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าแบรนด์ต้องการสื่อถึงความสุขของการกินไอศครีม ดังนั้นตัวเลือกฟอนต์ที่น่าสนใจในการนำมาใช้ออกแบบโลโก้แบรนด์จะต้องสื่อให้ลูกค้าอยากจะหยิบไอศครีมมากินเพราะเห็นโคนไอศครีมแล้วรู้สึกสนุก และแน่นอนว่าดาวเด่นหนึ่งในตัวเลือกคือการใช้ Script ฟอนต์ เป็นฟอาต์ลายมือที่ให้ความรู้สึก old-fashioned ย้อนรำลึกไปถึงความทรงจำเก่าๆที่มีความสุขในฤดูร้อนที่ผ่านมา และเมื่อรวมกับ Sans serif ฟอนต์แล้วทำให้ภาพรวมของงานดีไซน์ชิ้นนี้จะสามารถเรียกรอยยิ้มจากลูกค้าที่พบเห็นได้แน่นอน
-Powerful-
ภาพจาก Cuba Gallery
บางครั้งฟอนต์ที่ดูเรียบง่ายและตรงไปตรงมาก็ดูทรงพลังมากที่สุด อย่างเช่นในภาพตัวอย่างที่เป็นโฆษณาของแบรนด์ Nike ที่นักออกแบบได้เลือกใช้องค์ประกอบการออกแบบที่ดูโดดเด่น (bold) ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมไปถึงการเลือกใช้สี blackground และภาพประกอบที่ดูโดเด่น รวมทั้งใช้ Sans serif ฟอนต์แบบตัวหนา ซึ่งทำให้ภาพรวมของภาพโฆษณาชิ้นนี้ดูทรงพลังและโดดเด่นจนเหมือนจะกระโดดออกมาดึงดูดความสนใจของผู้ที่พบเห็นได้เป็นอย่างดีทีเดียว
-Authoritative-
ภาพจาก Ads of the World
หากต้องการให้งานดีไซน์สามารถสร้างผลกระทบ (impact) และดูน่าเชื่อถือ การเลือกใช้ Serif ฟอนต์คือคำตอบ ดังเช่นตัวอย่างภาาพโฆษณาจาก The Guardian ที่ส่งข้อความที่ต้องการจะสื่อออกมาอย่างชัดเจนว่าเขาคือสื่อที่เป็นกลาง
-Sad-
ภาพจาก ASPCA.
การออกแบบบ้างครั้งก็ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความอบอุ่นหรือความสบายใจเพียงเท่านั้น การกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเศร้าก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมได้เช่นกัน ตัวอย่างจากโฆษณาของ American Society for the Prevention of Cruelty to Animals (ASPCA) ที่ผู้ออกแบบได้เลือกใช้ความเรียบง่ายและตรงไปตรงมาของ sans serif ฟอนต์ และใช้โทนสีที่ทึมๆที่เศร้าหมองเพื่อสื่งมอบความทรงพลังของข้อความที่ต้องการจะสื่อพร้อมกับภาพอุปมาอุปไมย
อย่าลืมลองใช้จิตวิทยาฟอนต์เพื่อประโยชน์ในงานออกแบบของคุณ
การออกแบบงานทุกชิ้นจะต้องมีการใช้องค์ประกอบต่างๆมากมายในการสร้างสรรค์ผลงานนั่นรวมถึงฟอนต์ด้วย ถึงตอนนี้เพื่อนๆคงเข้าใจเรื่องจิตวิทยาฟอนต์กันบ้างแล้ว ตอนนี้ก็เหลือแค่ลองนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับงานดีไซน์ชิ้นต่อไปของเพื่อนๆกันค่ะ :)