มารู้จักหลักการออกแบบจากภาพยนตร์ของ Wes Anderson กันเถอะ!!
5 กรกฎาคม 2560

 

 

สวัสดีค่าเพื่อนๆชาว FreelanceBay ทุกคน วันนี้เรามีบทความดีๆเกี่ยวกับหลักการออกแบบจากภาพยนตร์ของ Wes Anderson มาฝากกันค่ะ Wes Anderson นั้นเป็นผู้กำกับชื่อดังที่ภาพยนตร์ของเขาทุกเรื่องล้วนมีองค์ประกอบทางด้านภาพที่แปลกใหม่ น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นโทนสี, สถานที่ถ่ายทำ หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าหน้าผมนักแสดง ล้วนรวมกันเป็นองค์ประกอบศิลป์ที่โดดเด่น 

ซึ่งผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาคือ The Grand Budapest Hotel (2014) ที่ได้รางวัลจากเวทีออสการ์ปี 2014 ไปถึง 4 รางวัลใหญ่ ดังนี้

  • Best Achievement in Costume Design
  • Best Achievement in Makeup and Hairstyling
  • Best Achievement in Music Written for Motion Pictures, Original Score
  • Best Achievement in Production Design

วันนี้เราจึงได้นำบทความเกี่ยวกับหลักการออกแบบจากภาพยนตร์ของ Wes Anderson มาบอกเล่าต่อให้เพื่อนๆได้ฟังกันจ้าจะมีอะไรบ้างเลื่อนลงไปชมได้เลย

 

 

 

1.Perspective

 

 

 

มีการถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับมุมมองของ Wes Anderson จะเห็นได้ว่าหลายๆเรื่องเขาได้ใช้มุมที่เสมือนการมองจากทางด้านบนลงมาเสมอ

 

 

2.Balance

 

 

 

หากพูดถึงการจัดอันดับลักษณะการดีไซน์งานของเขา เรื่องสมดุลคงเป็นอันดับแรกสุด ซึ่งเรามักจะเห็นเขาจัดวางตัวละครให้อยู่ในความสมดุลทั้งสองข้าง หรือกึ่งกลางของเฟรมภาพเสมอ

 

 

3.Movement

 

 

 

การเคลื่อนไหวในภาพยนตร์ของ Wes Anderson นั้นน่าสนใจเสมอจะเห็นได้ว่าเขามักจะใช้กล้องแพลนไปทั่วฉากและบ่อยครั้งจะแพลนตามตัวละครเมื่อตัวละครนั้นๆออกเดิน เราสามารถสังเกตเห็นได้ว่าตัวละครของเขามักจะเดินขนานกันอยู่เสมอ

 

 

4.Emphasis

 

 

 

Wes Anderson รู้ดีเสมอถึงความต้องการที่จะให้ผู้ชมโฟกัสที่ส่วนสำคัญที่เขาต้องการที่จะสื่อ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมภาพยนตร์ของเขามักจะรับชมได้ง่ายไม่ต้องใช้ความคิดอย่างมาก ฉากทั้งหลายก็ไหลลื่นไม่ดูขัดตา

 

 

5.Space

 

 

 

ในชีวิตของคนปกติทั่วไปมักจะต้องการพื้นที่ส่วนตัวกันทั้งนั้น และในภาพยนตร์ของ Wes Anderson เขาก็มักจะให้พื้นที่ของตัวละครด้วยเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าเขาใช้พื้นที่ได้อย่างชาญฉลาดเลยทีเดียวล่ะ

 

 

และนี่ก็เป็น 5 ข้อหลักการออกแบบจากภาพยนตร์ของ Wes Anderson ซึ่งนี่เป็นเพียงคำแนะนำที่เพื่อนๆสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ต่อแต่จง อย่ายึดติดกับกฎเกณฑ์มากจนเกินไปจนทำลายความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง นะคะ :)

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

กำลังเชื่อมต่อ